Last updated on เมษายน 2nd, 2024 at 01:28 pm
ตั้งแต่การจุดพลุดอกไม้ไฟไปจนถึงการประดับแขวนด้วยหัวหอม ผู้คนทั่วโลกต่างมีวิธีการส่งสัญญาณบอกวันขึ้นปีใหม่ได้หลากหลายวิธี ประเพณีเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงวันส่งท้ายปีเก่าในวันที่ 31 ธันวาคม เท่านั้น แต่ยังมีต่อเนื่องไปจนถึงวันปีใหม่ของวันที่ 1 มกราคม และประเพณีปีใหม่ในวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น วันตรุษจีน และวันปีใหม่ของชาวยิวที่มีขึ้นในช่วงปลายปีปฏิทิน
อ่านคู่มือ Remitly เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีวันส่งท้ายปีเก่า 12 ประเพณีทั่วโลก
1. กินองุ่น 12 ลูกเพื่อเสริมดวง
ในประเทศสเปนและบางประเทศในแถบละตินอเมริกาที่พูดภาษาสเปน ผู้คนจำนวนมากนิยม กินองุ่น 12 ลูก เมื่อนาฬิกาเปลี่ยนจากวันส่งท้ายปีเก่าเป็นวันปีใหม่ องุ่น 12 ลูก หมายถึง 12 เดือนของปี
หากอยากทำตามประเพณีนี้ ให้อมองุ่นเข้าปากทุกครั้งที่นาฬิกาตีระฆังตอนเที่ยงคืน บางคนบอกว่าให้กินองุ่น 12 วินาทีก่อนเที่ยงคืน
นี่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่เชื่อกันว่าจะช่วยส่งเสริมความเป็นสิริมงคลและจะโชคดีในช่วงปีใหม่ โดยหากต้องการความโชคดี ลองนึกถึงความสำคัญขององุ่นแต่ละชนิดและเดือนถัดไปของปี
แม้ว่าเรื่องราวและต้นกำเนิดของประเพณีจะแตกต่างกันไป บางคนเชื่อว่าเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นชาวสเปนได้คิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นในช่วงทศวรรษปี 1900 โดยเป็นกุศโลบายเพื่อช่วยให้ขายองุ่นได้มากขึ้นนั่นเอง แต่ยังมีหลายๆ คนเชื่อว่านี่เป็นธรรมเนียมของชาวฝรั่งเศสและผู้คนในกรุงมาดริดนำมาใช้จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2.สวมชุดสีขาวกระโดดข้ามเจ็ดคลื่น
ทุกวันที่ 31 ธันวาคม ณ ประเทศบราซิล ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาจะต้องมีความเกี่ยวข้องและผสมผสานกัน โดยจะมีผู้คนสวมชุดสีขาวมารวมตัวกันอยู่ที่ชายหาดของบราซิล
ผู้คนในกรุงริโอเข้าร่วมการเฉลิมฉลองประเพณีนี้อย่างกระตือรือร้น ผู้คนจำนวนมากมาที่ชายฝั่งในวันส่งท้ายปีเก่าเพื่อโยนดอกไม้สีขาวลงไปในเกลียวคลื่นและชมการแสดงดอกไม้ไฟเหนือท้องทะเล
เมื่อถึงวันปีใหม่ ผู้คนจะเดินลุยลงไปยังทะเลและกระโดดบนคลื่นเจ็ดลูก โดยทุกครั้งที่พวกเขากระโดดนั้น พวกเขาจะอธิษฐานและขอพรให้โชคดีในปีที่กำลังจะมาถึง
3. กระเป๋าเดินทางเปล่า
ในประเทศโคลอมเบีย ผู้คนจำนวนมากปฏิบัติตามประเพณีต่างๆ เพื่อขอโชคลาภในวันปีใหม่ รวมถึงประเพณีการกินองุ่นด้วย ตามที่คุณเอริก้า ดิโน่ บล็อกเกอร์อาหารชาวโคลอมเบีย เคยกล่าวไว้ว่า องุ่นทุกลูกที่คุณทานเข้าไป คุณควรอธิษฐานขอพรทุกครั้ง
ดิโน่ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่าชาวโคลอมเบียบางคนชอบรินแชมเปญทั่วร่างกายซึ่งพวกเขาเชื่อว่ามันจะช่วยนำพาความรักและโชคลาภมาสู่ปีที่กำลังจะมาถึง ผู้คนที่หวังว่าปีนี้จะเต็มไปด้วยการผจญภัยหรือการเดินทางอาจจะลุกขึ้นวิ่งไปรอบๆ ตึกโดยถือกระเป๋าเดินทางเปล่าๆ ไปด้วย
4. ฮอปปิน จอห์น มื้อเย็นแสนอร่อย
ฮอปปิน จอห์น (Hoppin ‘John) เป็นสูตรอาหารจากตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาที่มักจะทำและรับประทานกันในวันปีใหม่ โดยมีส่วนผสมหลักคือ ถั่วตาดำ (Black-eyed pea) ซึ่งเป็นอาหารแห่งความโชคดีของวันหยุด
ด้วยเหตุนี้หลายๆ คนจึงมักมีถั่วตาดำเป็นส่วนผสมบนจานอาหาร และใช้กินร่วมกับผักใบเขียวต่างๆ โดยเชื่อว่ามันจะช่วยค้ำจุนและเสริมความมั่งคั่งในปีถัดไป
นอกจากนี้ ฮอปปิน จอห์น ยังมีส่วนประกอบของข้าวและเนื้อสัตว์บางประเภท ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเนื้อหมูหลากหลายชนิด เช่น แฮมหรือเบคอน ในงานเฉลิมฉลองวันส่งท้ายปีเก่าจะทานคู่กับผักกระหล่ำปลี หลายๆ คนมีความคิดที่จะกินหมูเพื่อสร้างโชคในวันแรกของปีอีกด้วย
5. ผู้ชายผมดำเข้าบ้านก่อนใคร
วันปีใหม่ หรือ วันฮอกมาเนย์ (Hogmanay) ถือเป็นเรื่องใหญ่ในสกอตแลนด์ ในอดีตนั้น วันนี้คือวันหยุดฤดูหนาวที่สำคัญของหลายๆ คนในแถบภูมิภาคนี้เนื่องจากการฉลองคริสต์มาส ถูกห้าม มาเกือบ 400 ปี เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนได้พัฒนาประเพณีต่างๆ มากมายเพื่อนำมาใช้ร่วมเฉลิมฉลองในวันที่ 31 ธันวาคม และประเพณีหนึ่งในนั้นเป็นที่รู้จักกันดี เรียกว่า ก้าวแรก (first footing)
ก้าวแรก หมายถึง เท้าแรกที่ก้าวข้ามธรณีประตูบ้านเมื่อปีใหม่เริ่มต้นขึ้น ประเพณีของชาวสก็อตถือว่า ความโชคดีจะเกิดขึ้นเมื่อคนแรกที่ผ่านประตูหน้าเป็นผู้ชายผมสีเข้ม ผู้ชายควรนำสิ่งของบางอย่างติดตัวไปด้วย เช่น ขนมปังดำ ขนมปังชนิดร่วน ถ่านหิน เกลือ และวิสกี้
เมื่อหลายร้อยปีก่อน ชาวไวกิ้งซึ่งโดยทั่วไปจะมีผมสีอ่อน มักจะรุกรานสกอตแลนด์ บางคนจึงเชื่อว่า ก้าวแรกจำเป็นต้องมีผู้ชายผมสีเข้มเพราะบรรพบุรุษชาวสก็อตในสมัยไวกิ้งจะต้องคอยระวังคนแปลกหน้าที่มีผมสีอ่อนเนื่องจากอาจเป็นผู้บุกรุก
6. การให้ซองอั่งเปาสีแดง
ซองอั่งเปาสีแดงเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันเทศกาลตรุษจีน โดยจะเริ่มประมาณวันที่ 23 ของเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ
โดยทั่วไปแล้วนั้น ผู้คนจะมอบอั่งเปาพิเศษที่เรียกว่า หงเปา ให้กับคนที่คุณรัก ซึ่งมักเป็นเด็กๆ โดยจะใส่เงินไว้ในซอง ประเพณีนี้เกิดขึ้นในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ที่ได้รับมรดกทางวัฒนธรรมของจีน เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน
สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาดีและความมั่งคั่ง ต้นกำเนิดของการถือปฏิบัติเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในนิทานจีนโบราณหลายเรื่องเกี่ยวกับวันปีใหม่ โดยบอกกฎเกณฑ์ในการให้และการรับซองอั่งเปา
ตัวอย่างเช่น ซองอั่งเปาที่ใช้ต้องเป็นซองใหม่ สะอาดและสีสันสดใส การให้ซองอั่งเปา ควรยื่นซองให้และรับซองด้วยมือทั้งสองข้าง ผู้รับจะไม่สามารถเปิดซองอั่งเปาได้หากยังอยู่กับคนให้ซองอั่งเปา เพราะมันเป็นมารยาทที่ไม่ดี
ประเพณีการให้ของขวัญแตกต่างกันไปทั่วโลก ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ประเพณีการให้ของขวัญช่วงวันหยุด ในวัฒนธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีปฏิทิน
7.เขวี้ยงจานให้แตกตรงทางเข้าประตู
ในขณะที่มีการหย่อนลูกบอลตรงไทม์สแควร์ในนิวยอร์กซิตี้ และนี่ มันคือทั้งแก้วและจานในอีกฟากของมหาสมุทรแอตแลนติก
สำหรับประเพณีปีใหม่ของชาวดัตช์และเยอรมันจะมีผู้คน เขวี้ยงจานใส่ประตูบ้าน เพื่อนำโชคลาภมาให้ โดยคุณควรทิ้งจานเก่าๆ ตรงประตูบ้านของเพื่อนและครอบครัว แทนการโยนจานในบ้านของคุณเอง สำหรับเศษชิ้นส่วนที่แตกมากมายตรงประตูบ้านของคุณนั้น หมายถึง โชคลาภที่มีมากขึ้นสำหรับผู้คนในเดนมาร์ก
8. ทุบหม้อและกระทะ
การทุบหม้อและกระทะให้เกิดเสียงดังถือเป็นธรรมเนียมระหว่างวัฒนธรรมของสถานที่ต่างๆ อันที่จริงแล้ว นี่เป็นประเพณีนำไปสู่การทำเสียงและสิ่งของอื่นๆ ซึ่งชวนให้ผู้คนซื้อหามาเพื่อใช้ส่งเสียงในช่วงปีใหม่
เหตุผลประการหนึ่งของประเพณีนี้อาจเป็นเพราะความเชื่อที่ว่า การส่งเสียงดังสามารถขับไล่วิญญาณที่ไม่ดีในปีที่ผ่านมาได้ การส่งเสียงดังอาจช่วยปกป้องสิ่งเลวร้ายในปีที่จะมาถึงและเป็นการต้อนรับการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
แม้ว่า การเริ่มต้นนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไอร์แลนด์ แต่คุณจะเริ่มเห็นผู้คนปฏิบัติตามประเพณีนี้ในวันส่งท้ายปีเก่าในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย คิวบา ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย
9. การเผาหุ่นจำลอง
การเผาหุ่นจำลอง ถือเป็นประเพณีปีใหม่ที่เกิดขึ้นในหลากหลายประเทศ ผู้คนสร้างหุ่นจำลองของบุคคลทุกประเภท รวมถึงนักการเมืองและคนดัง จากนั้น จึงนำหุ่นจำลองไปเผาในเวลาเที่ยงคืนของวันส่งท้ายปีเก่า
หลายคนเชื่อว่าประเพณีนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1895 เมื่อภูมิภาคแถบนี้มีไข้เหลืองระบาด พวกเขาได้ยัดเสื้อผ้าของผู้เสียชีวิตลงในโลงศพซึ่งจะถูกเผาไปพร้อมกับศพ ส่วนหนึ่งนั้นก็เพื่อเผาโรคร้าย
สัญลักษณ์แห่งการชำระล้างยังคงดำเนินมาถึงในปัจจุบันและได้กลายเป็นประเพณีการเผาหุ่นจำลองเพื่อชำระล้างสิ่งเลวร้ายจากปีที่ผ่านมาก่อนที่จะเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในปีใหม่
10. การหลอมโลหะเป็นรูปร่าง
ประเพณีปีใหม่จากประเทศฟินแลนด์นี้คือ การหล่อรูปโลหะทรงต่างๆ จากการเสี่ยงทายของดีบุก โดยจะใช้รูปทรงที่หล่อได้ในวันส่งท้ายปีเก่าเพื่อคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในปีใหม่ โดยวิธีการเริ่มต้นจากการอุ่นดีบุกในกระป๋องจนหลอมละลายแล้วนำมันเทลงในน้ำเย็นเพื่อให้ได้รูปทรงแบบสุ่มซึ่งรูปโลหะจะปรากฏเป็นรูปร่างแตกต่างกันไป เช่น แหวนอาจบ่งบอกถึงการแต่งงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการฝึกฝนทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ได้มากมาย
11. สาดน้ำออกนอกหน้าต่าง
ขณะที่มีผู้คนทานองุ่น 12 ลูกเพื่อโชคลาภในเปอร์โตริโก ก็จะมี ประเพณีของเปอร์โตริโก อื่นๆ อีกเช่นกัน นั่นคือ การสาดน้ำในถังออกไปนอกหน้าต่างเพื่อช่วยปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย
ชาวเปอร์โตริโกจำนวนมากโรยน้ำตาลรอบๆ บ้านเพื่อดึงดูดโชคลาภ
และก็มีชาวเปอร์โตริโกที่อาศัยอยู่ใกล้มหาสมุทรที่อาจเฉลิมฉลองวันส่งท้ายปีเก่าที่ชายหาดด้วยการเดินถอยหลังลงทะเลในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งก็มีเหตุผลเช่นเดียวกับประเพณีการโรยน้ำตาล โดยการถือปฏิบัติเช่นนี้เพื่อเรียกโชคลาภนั่นเอง
12. สวมชุดชั้นในมีสีสัน
สีของชุดชั้นในมีบทบาทต่อประเพณีปีใหม่ในหลายๆ ประเทศ มีผู้คนจำนวนมากในประเทศโคลัมเบียสวมชุดชั้นในสีเหลืองเพื่อหวังว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในปีหน้า
ในประเทศแถบละตินอเมริกาอื่นๆ เช่น บราซิล ผู้คนสวมชุดชั้นในสีแดงเพื่อดึงดูดโชคและสร้างแพชชั่นในวันปีใหม่ นอกจากนี้ทั้งชายและหญิงในอิตาลีมักจะสวมชุดชั้นในสีแดงในวันส่งท้ายปีเก่าเพื่อปัดเป่าความคิดด้านลบและวิญญาณชั่วร้าย
13. ทานผลไม้จุ่มน้ำผึ้ง
วันปีใหม่ของชาวยิวเป็นอีกการเฉลิมฉลองหนึ่งที่ไม่ได้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคมหรือ 1 มกราคม
การเฉลิมฉลองของชาวยิวที่รู้จักกันในชื่อ รอส ฮาสฮานาห์ (Rosh Hashanah) เริ่มต้นในวันแรกของเดือนเจ็ดตามปฏิทินฮีบรู สำหรับการกำหนดวันที่ที่แน่นอนในปฏิทิน 12 เดือนสมัยใหม่นั้นจะแตกต่างกันไป โดยวันปีใหม่ของชาวยิวจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของฤดูร้อนหรือต้นฤดูใบไม้ร่วง
เทศกาลนี้มีธรรมเนียมปฏิบัติหลายอย่าง เช่น การรับประทานแอปเปิ้ลหรือผลไม้ต่างๆ โดยจุ่มลงในน้ำผึ้ง การทานเช่นนี้เป็นการเสริมโชคเพราะในอดีตมองว่าแอปเปิ้ลเป็นผลไม้รักษาโรค และน้ำผึ้งเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองหรือความหวัง
14. แขวนหัวหอมไว้ที่ประตู
ในประเพณีกรีก หัวหอมเป็นสัญลักษณ์ของการงอกใหม่หรือการเกิดใหม่ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากธรรมชาติที่แข็งแกร่งของต้นหอมหัวใหญ่และความสามารถในการงอกใหม่ได้ หัวหอมได้รับการยกย่องอย่างมากจนผู้คนเริ่มแขวนไว้ในบ้านในวันปีใหม่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองใหม่ในวันปีใหม่
ผู้คนจำนวนมากในกรีซเข้าร่วมพิธีที่โบสถ์ในวันปีใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อเริ่มต้นปีด้วยความดี หลังเลิกจากโบสถ์ ผู้คนจะ แขวนหัวหอม ไว้ที่ทางเข้าประตูหรือที่อื่นๆ ของบ้าน
คลิกไปดูกันว่า ชาวกรีกกินอะไรในช่วงปีใหม่ และดูวิธีทำอาหารจานต่างๆ
15. บะหมี่โซบะสเลอบี้
คนญี่ปุ่นมักจะกิน บะหมี่โซบะ ในวันส่งท้ายปีเก่า ประเพณีนี้เรียก บะหมี่โซบะโทชิโคชิ ซึ่งทำจากเมล็ดพืชบัควีตบดจนยาวและบาง
เนื่องจากเส้นบะหมี่หักง่าย การรับประทานอาหารประเภทนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ของการหลุดพ้นจากปีเก่าเพื่อให้คุณเข้าสู่ปีใหม่ได้อย่างราบรื่น ความยาวของเส้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่ยืนยาวด้วย
ประเพณีนี้เหมาะกับคนหลายๆ คน การไปร่วมเฉลิมฉลอง การออกไปช่วยเหลือและให้บริการต่างๆ ที่ศาลเจ้าหรือวัดในเวลาเที่ยงคืนถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อผู้คนกลับมาบ้าน พวกเขามักชอบกินบะหมี่ที่ปรุงง่ายๆ เป็นของว่าง
16. จุดประทัดในวันปีใหม่
หลายๆ วัฒนธรรมนิยมจุดประทัดเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ ในปัจจุบัน คุณจะเห็นประเพณีการเล่นจุดประทัดมากมายและทุกขนาด เด็กๆ อาจโยนประทัดป๊อปเปอร์ขนาดเล็กลงบนพื้นในละแวกบ้านใกล้เคียงเพื่อส่งเสียง ในขณะที่หัวเมืองต่างๆ มีการแสดงดอกไม้ไฟอันตระการตาเมื่อนาฬิกาตีเวลาเที่ยงคืนทั่วโลก
หากคุณกำลังดูทีวีหรือกำลังออนไลน์ในวันที่ 31 ธันวาคม คุณอาจจะกำลังชมการแสดงดอกไม้ไฟจากที่ไหนสักแห่งในโลก
17. ค้นหาสิ่งของรูปวงกลม
หากมีรูปทรงใดๆ ตรงกับสัญลักษณ์วันปีใหม่ก็คงจะเป็นรูปทรงกลม เนื่องจากสิ่งของทรงกลมมักจะเป็นส่วนสำคัญของการเฉลิมฉลอง เช่น เหรียญที่มีรูปวงกลม โดยรูปทรงกลมเป็นเรื่องสากลเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความร่ำรวยและโชคลาภ
ในสหรัฐอเมริกา ผู้คนมุ่งหน้าไปยังไทม์สแควร์ในนิวยอร์กซิตี้เพื่อดูบอลหล่นตอนเที่ยงคืน การเฉลิมฉลองจากการปล่อยลูกบอลขนาดเล็กเกิดขึ้นนอกไทม์สแควร์ในเมืองอื่นๆ ของอเมริกาอีกด้วย
ชาวฟิลิปปินส์ต้อนรับปีใหม่ด้วยการรับประทานอาหารที่มีลักษณะเป็นทรงกลม หลายคนยังสวมเสื้อผ้าลายจุดเพราะลวดลายเป็นรูปวงกลม
ในเนเธอร์แลนด์ ผู้คนมักจะซื้อโดนัททอด เรียกว่า โอลีบอลเลน จากแผงขายของริมถนนในช่วงวันที่ 31 ธันวาคมและ 1 มกราคม
18. การตั้งปณิธานในวันปีใหม่
การตั้งปณิธานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวันปีใหม่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย
การตั้งปณิธานก็เหมือนกับการตั้งเป้าหมายสำหรับวันปีใหม่ และในเรื่องต่างๆ เช่น การพยายามจัดระเบียบให้มีมากขึ้น การลดน้ำหนัก หรือเลิกนิสัยที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับบางคนแล้วนั้น การแชร์ปณิธานออกมาให้รับรู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีวันส่งท้ายปีเก่า แต่สำหรับบางคนเลือกที่จะเก็บเป้าหมายไว้ส่วนตัว
19. ร้องเพลง “ออลด์ แลงก์ ไซน์”
บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และประเทศต่างๆ ที่พูดภาษาอังกฤษ จะเปิดเพลงพื้นบ้านเพลงหนึ่งซึ่งจะดังขึ้นเฉพาะในวันปีใหม่ เพลงนั้นคือ “ออลด์ แลงก์ ไซน์” (Auld Lang Syne)
ในขณะที่โรเบิร์ต เบิร์นส์ กวีชาวสก็อตแลนด์ได้รับเครดิตในการเขียนเนื้อเพลงนี้ เขากล่าวว่า แรงบันดาลใจมาจากบทกวีเก่าๆ ที่มีอายุย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 16 และ 17 เลยทีเดียว
คุณสามารถ ค้นหาเนื้อเพลงได้ที่นี่
20. แหล่งรวมขนมทุกชนิด
สิ่งสำคัญของการเฉลิมฉลองในบางสถานที่จะเป็นขนมปังอบ
ในประเทศไอร์แลนด์ หลายคนเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการทุบขนมปังบนผนังบ้านของตน โดยมักเป็นขนมปังที่เหลือจากวันคริสต์มาส แต่ก็มีบางคนอบขนมปังสดใหม่ในคืนสุดท้ายของปี
ชาวยิวมักเตรียมเค้กแอปเปิ้ลอบน้ำผึ้งสุดพิเศษเพื่อการเฉลิมฉลองปีใหม่ เรียกว่า รอช ฮาชานาห์ ส่วนผู้คนในเดนมาร์กและนอร์เวย์ทำเค้กคราสเค้กหอคอยแห่งเดนมาร์ก หรือเค้กพวงมาลัยที่มีวงแหวนมาร์ซิปันและใช้แกนขนมตรงกลางร่วมกัน
ชาวกรีกทักทายวันปีใหม่ด้วยเค้กพิเศษที่เรียกว่า วาซิโลปิต้า เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญเบซิล โดยจะมีการใส่เหรียญเงินไว้ข้างในเค้กเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ตามประเพณีกล่าวไว้ว่าใครก็ตามที่ได้เหรียญอาจได้รับโชคลาภในปีใหม่
วัฒนธรรมในที่อื่นๆ ต่างก็ทำขนมหวานใส่เหรียญด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ชาวบัลแกเรียใส่เหรียญลงในของหวานที่เรียกว่า บานิสต้า ส่วนชาวฝรั่งเศสก็มีการเสิร์ฟกาโต เดส์รัวส์โดยมีเหรียญอยู่ข้างใน และชาวเม็กซิกันทำขนมเค้กเม็กซิกัน รอสก้า เดอเรเยส ซึ่งถูกนำไปอบด้วยเหรียญพิเศษอยู่ข้างใน ในบางกรณี ผู้คนจะกินขนมอบใส่เหรียญเหล่านี้หลังจากผ่านวันที่ 1 มกราคมไปห้าวัน ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติในวันหยุดอีพิพฮานี หรือ วันสมโภชพระคริสต์ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองเมื่อครั้งนักปราชญ์ไปเยี่ยมเยียนพระกุมารเยซู ณ เมืองเบธเลเฮม
หากคุณกำลังเตรียมตัวเฉลิมฉลองวันปีใหม่ ลองมาทำความรู้จักประเพณีใหม่ๆ จากทั่วโลกเหล่านี้กันก่อน