เงินบาท: ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสกุลเงินของประเทศไทยในปัจจุบัน

Last updated on กุมภาพันธ์ 8th, 2024 at 04:03 pm

เงินบาท: ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสกุลเงินของประเทศไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งของแผ่นดินใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเสียงด้านอาหารอร่อย ศาสนาสถาน ชายหาดที่สวยงาม และผู้คนที่เป็นมิตร ประเทศไทยนั้นเดิมมีชื่อเรียกว่า สยาม ต่อมาได้ถูกขนานนามอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย โดยมีสกุลเงินที่สร้างสีสันในตลาดอย่างมากคือ สกุล เงินบาท

ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นผู้ออกสกุลเงินบาท เรื่องน่ารู้: เงินบาทเป็นหนึ่งใน 12 สกุลเงินที่ใช้บ่อย มากที่สุดของโลก แต่ก่อนที่คุณจะแปลงสกุลเงินไทยเป็นดอลลาร์ หรือแปลงสกุลเงินดอลลาร์เป็นไทย  คุณควรรู้อะไรอีกบ้างเกี่ยวกับระบบสกุลเงินของประเทศไทย

จับตาสกุลเงินทางการของประเทศไทยให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น รวมถึงการค้นหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุดเมื่อแปลงสกุลเงินไทยเป็นดอลลาร์ หรือต้องการส่งเงินมายังประเทศไทย

สกุลเงินไทย

เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่น ๆ สกุลเงินของประเทศไทยมีแบบเหรียญและธนบัตร ธนบัตรกระดาษมีราคา 20 บาท 50 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท โดยเป็นธนบัตร 100 บาท ที่นิยมใช้กันมากที่สุด

ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยแบ่งเงินบาทออกเป็น 100 สตางค์ เหรียญไทยมีราคา 1 บาท 2 บาท 5 บาท 10 บาท 25 สตางค์ และ 50 สตางค์ เหรียญ 10 บาทเป็นเหรียญที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

สกุลเงินนี้ มักเรียกกันทั่วไปว่า บาทไทย หรือเรียกง่ายๆ ว่า บาท และสัญลักษณ์ของสกุลเงินนี้คือ ตัว B ตัวพิมพ์ใหญ่ซึ่งมีเส้นตั้งฉากลงไปตรงกลาง (฿) คุณสามารถระบุเงินบาทได้ด้วยรหัสสามตัวอักษร THB ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

เกร็ดความรู้ เงินบาทไทย

Whether you need to send or exchange Thai baht or just want to learn more about this Southeast Asian currency, have a look at these fascinating facts.

ไม่ว่าคุณจะต้องการโอนเงิน หรือแลกเปลี่ยนเงินบาทไทย หรือเพียงต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสกุลเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลองมาดูข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเหล่านี้

เหยียบเงินไทยผิดกฏหมายหรือไม่

สำหรับในสหรัฐอเมริกา ผู้คนอาจจะไม่ใส่ใจกับธนบัตรและเหรียญมากนัก แต่ในประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น ประเทศไทยมีกฎหมายภายในประเทศที่เข้มงวดคือ ห้ามการดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ หรือที่เรียกว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

กฎหมายนี้ห้ามการกระทำด้วยวาจา กายภาพ หรือลายลักษณ์อักษรที่แสดงพฤติกรรมไม่เคารพต่อกษัตริย์หรือสมาชิกในราชวงศ์ เนื่องจากเงินทั้งหมดในประเทศไทยมีรูปเหมือนของกษัตริย์หรือสมาชิกราชวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ กฎหมายนี้จึงขยายไปถึงการจัดการเงินตราด้วย

ตัวอย่างพฤติกรรมที่อาจผิดกฎหมายในประเทศไทย ได้แก่

  • เหยียบเหรียญ
  • เหยียบธนบัตร
  • การเผา ฉีก หรือเขียนบนธนบัตร

ในทางกลับกัน ร้านค้าหลายแห่งในประเทศไทยจะจัดแสดงธนบัตรบาทขนาดเล็กเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์

ฝ้ายพิเศษใช้ทำเงินบาท

เงินบาททำด้วยไฟเบอร์จากฝ้ายชนิดพิเศษซึ่งออกแบบมาให้ทนทานมากยิ่งขึ้น ที่จริงแล้ว ธนบัตรแต่ละชนิดมีความหนาและความรู้สึกที่แตกต่างกัน ดังนั้น การแยกความแตกต่างของธนบัตรสกุลเงินบาทไทยจึงทำได้ง่าย

ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้กระบวนการที่เรียกว่า การพิมพ์แกะ ซึ่งทำให้พิมพ์มีลักษณะนูนขึ้นเล็กน้อย ซึ่งทำให้การสัมผัสทำได้ดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

สิ่งที่ปรากฏเด่นชัดคือ เลขอารบิคและเลขไทย ซึ่งคุณจะเห็นเลขอารบิคที่ซ่อนอยู่ที่มุมซ้ายล่างของธนบัตรแต่ละใบ

ธนบัตรรูปกษัตริย์

ธนบัตรทุกใบของไทยจะมีพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ กษัตริย์องค์ปัจจุบัน บนธนบัตร 20, 50 และ 100 บาท ธนบัตรราคา 500 และ 1,000 บาท โดยรุ่นล่าสุดผลิตออกมาใช้เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ในปี 2561

ทั้งนี้ สีและขนาดของธนบัตรยังผลิตเหมือนเดิมเช่นในอดีต โดยด้านหลังของธนบัตร มีพระบรมสาทิสลักษณ์ พระมหากษัตริย์ของไทยตามลำดับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เงินบาท: ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสกุลเงินของประเทศไทยในปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของเงินตราประเทศไทย

เงินตราประเทศไทยไม่ได้อยู่ในรูปแบบกระดาษเสมอไป ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นธนบัตรสมัยใหม่เช่นในปัจจุบัน ประเทศไทยในอดีตใช้เปลือกหอย เรียกว่า เงินพดด้วง และเหรียญดินเผาแทนเงินเพื่อใช้ ชำระได้ตามกฎหมาย มาก่อน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศไทยเปิดเสรีการค้าและสร้างความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศตะวันตก การนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้เงินพดด้วงไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ดังนั้น ในปี 1853 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ จึงให้มีการผลิตเงินเป็นกระดาษชุดแรกออกมา เรียกว่า “หมาย” เพื่อสู้กับความต้องการเงินตราที่มีเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนักในช่วงนั้น เนื่องจากผู้คนยังนิยมใช้เงินพดด้วงแทนสกุลเงินราชการ

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนเงินตราอย่างมากหลายครั้ง เมื่อถึงยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 1873 เหรียญทองแดงที่มีมูลค่าต่ำนั้นเริ่มหายากอย่างไม่น่าเชื่อ มูลค่าของดีบุกและทองแดงในตลาดโลกก็กลับพุ่งสูงกว่ามูลค่าหน้าเหรียญ

เมื่อถึงจุดนั้น ผู้คนเริ่มใช้ “เบี้ยปี้” ซึ่งเป็นสกุลเงินประเภทหนึ่งที่พวกเขาสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ในโรงบ่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประสงค์หลีกเลี่ยงการใช้เงินชนิดนี้ จึงทรงแนะนำสกุลเงินกระดาษราคาต่ำที่เรียกว่า “อัฐกระดาษ” ขณะรอเหรียญทองแดงจากประเทศอังกฤษ เหล่าผู้นำยกเลิกเงินประเภทนี้ออกจากการหมุนเวียนในปี 1875

เนื่องจากเหรียญไทยไม่สามารถหมุนเวียนได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ รัฐบาลจึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 3 แห่งดำเนินการออกธนบัตรได้ในปี 1889 ปี 1898 และ 1899

รู้จักอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทย

เฉพาะเงินบาทที่สามารถใช้ชำระเงินได้ตามกฎหมายในประเทศไทย ดังนั้น หากคุณต้องเดินทางไปที่นั่นที่นี่ในประเทศไทย คุณจะต้องแลกเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาท ในทำนองเดียวกัน หากคุณส่งเงินมายังประเทศไทย คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เงินที่โอนมานั้นเป็นเงินบาท ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) หรือยูโร (EUR)

เวลาที่ดีที่สุดในการแลกเปลี่ยนเงินบาทขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของแต่ละคู่ซึ่งมีความผันผวน

หากคุณกำลังแปลงระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐกับบาทไทย คุณจะต้องดูอัตราดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2565 ค่าเงินอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 35.34 บาท

คุณจะได้รับอัตราเงินแลกเปลี่ยนที่แตกต่างออกไปหากคุณแปลงเป็นดอลลาร์แคนาดา (CAD) ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) หรือดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD)

ต่อไปนี้ คือคู่สกุลเงินต่างๆ และจำนวนเงินที่ 1 บาทไทย เทียบเท่ากับอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2565

  • 1 บาท = 0.03 ฟรังก์สวิส (CHF)
  • 1 บาท = 2.21 รูปีอินเดีย (INR)
  • 1 บาท = 3.85 เยนญี่ปุ่น (JPY)
  • 1 บาท = 0.15 เรียลบราซิล (BRL)
  • 1 บาท = 25.15 เปโซชิลี (CLP)
  • 1 บาท = 0.19 หยวนจีน (CNY)
  • 1 บาท = 0.53 ปอนด์อียิปต์ (EGP)
  • 1 บาท = 0.22 ดอลลาร์ฮ่องกง (HKD)
  • 1 บาท = 420 รูเปียห์อินโดนีเซีย (IDR)
  • 1 บาท = 0.57 เปโซเม็กซิโก (MXN)
  • 1 บาท = 0.12 ริงกิตมาเลเซีย (MYR)
  • 1 บาท = 5.98 รูปีปากีสถาน (PKR)
  • 1 บาท = 0.13 ซวอตีโปแลนด์ (PLN)
  • 1 บาท = 0.29 โครนาสวีเดน (SEK)

แน่นอนว่า อัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนตามค่าเงินเหล่านี้เป็นเพียงภาพรวมของการแปลงสกุลเงินในแต่ละสกุลเงินเท่านั้นซึ่งอิงข้อมูลจาก การรายงานของ CNN

ควรตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนล่าสุดสำหรับค่าเงินในคู่สกุลเงินไทยเป็นดอลลาร์สหรัฐ หรือคู่สกุลเงินอื่นก่อนเริ่มโอนเงินระหว่างประเทศ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ให้ดู คู่มืออัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบกับธนาคารหรือบริษัท โอนเงิน ที่คุณชื่นชอบเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในปัจจุบันได้

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณใช้ แอป Remitly และเลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายในการโอนเงิน คุณสามารถดูอัตราปัจจุบันสำหรับคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาท หรือคู่สกุลเงินปอนด์เป็นเงินบาท และคู่สกุลเงินอื่น ๆ ได้

การส่งเงินกลับไทย

สกุลเงินของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เงินบาทไทยถือเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มีการซื้อขายบ่อยมากที่สุดในโลก

หากคุณต้องการส่งเงินให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงในประเทศไทย การใช้บริการโอนเงินจะปลอดภัยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณจะส่งเงินจำนวนมากในคราวเดียว

Remitly มีภารกิจในการทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศรวดเร็วยิ่งขึ้น ง่ายขึ้น โปร่งใสยิ่งขึ้น และราคาไม่แพงมากขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ผู้คนหลายล้านคนนิยมใช้แอป Remitly เพื่อส่งเงินให้ด้วยความอุ่นใจ

ไปที่หน้าแรก ดาวน์โหลดแอป หรือติดต่อ ศูนย์ช่วยเหลือ เพื่อเริ่มต้นโอนเงิน

เงินบาท: ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสกุลเงินของประเทศไทยในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม